วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อัลบั้ม









ประวัติความเป็นมาของกีต้าร์

เครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายกีตาร์เป็นที่นิยมมาก ว่า 5000 ปีเป็นอย่างต่ำ โดยเริ่มเป็นที่นิยมในแถบเอเชียกลาง เรียกว่าซิตาร่า (Sitara) เครื่องดนตรีที่มีรูปแบบคล้ายคลึงกีตาร์ที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบมีอายุ 3,300 ปี เป็นหินสลัก ของกวีอาณาจักรโบราณฮิตไตต์คำว่ากีตาร์มาจากภาษาสเปนคำว่า guitarra ซึ่งมาจากภาษากรีกอีกทีคือคำว่า Kithara kithara จากหลายแหล่งที่มาทำให้คำว่ากีตาร์น่าจะมีรากศัพท์มาจากภาษาตระกูลอินโดยูโร เปียน guit- คล้ายกับภาษาสันสกฤต ที่แปลว่า ดนตรี และ -tar หมายถึง คอร์ด หรือ สาย คำว่า qitara เป็นภาษาอาราบิก ใช้ ้เรียก Lute lute ส่วนคำว่า guitarra เกิดขึ้นเมื่อเครื่องดนตรีชนิดนี้ถูกนำมาที่ Iberia (หรือ Iberian Peninsular เป็นคาบสมุทรทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ในทวีปยุโรป) โดย Moors กีตาร์ในยุคปัจจุบัน มาจากเครื่องดนตรีที่เรียกว่า cithara ของชาวโรมัน ซึ่งนำเข้าไปแพร่หลายในอาณาจักรฮิสปาเนีย หรือสเปนโบราณ ประมาณ ค.ศ. 40 จากนั้นเปลี่ยนแปลงรูปแบบจนกลายมาเป็น เครื่องดนตรีที่มี 4 สายเรียกว่า อู๊ด (oud) นำเข้ามาโดยชาวมัวร์ ในยุคที่เข้ามาครอบครอง ในศตวรรษที่ 8 ส่วนในยุโรปมีเครื่องดนตรีที่เรียกว่า ลุต (lute) ของชาวสแกนดิเนเวียมี 6 สาย ในสมัย ค.ศ. 800 เป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมในกลุ่มชาวไวกิ้งค.ศ. 1200 กีตาร์ 4 สาย มี 2 ประเภท คือ กีตาร่า มอ ริสกา หรือกีตาร์ของชาวมัวร์ มีลักษณะกลม ตัวคอกว้าง มีหลายรู กับกีตาร่า ลาติน่า ซึ่งรูปร่างคล้ายกีตาร์ในปัจจุบัน คือมีรูเดียวและคอแคบ ในศตวรรษที่ 16 เครื่องดนตรีคล้ายกีตาร์ของชาวสเปน ที่เรียกว่าวิฮูเอล่า เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกีตาร์ในปัจจุบัน มีความผสมผสานระหว่างเครื่องดนตรีอู๊ดของชาวอาหรับและลูตของ< แต่ได้รับความนิยมในช่วงสั้นๆพบเห็นจนถึง ปี1576 เครื่องดนตรีชิ้นแรกที่มีรูปลักษณ์เหมือนกีตาร์ในปัจจุบันเกิดในช่วงยุคปลาย ของสมัยกลางหรือยุคต้นสมัย เรอเนสซอง(500กว่าปีที่แล้ว) เป็นช่วงที่มีการใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายกันทั่วโลกในยุคนั้นกีตาร์ มีทั้ง แบบ 4 และ 5 สาย สำหรับกีตาร์ที่มี 6 สาย ระบุว่ามีขึ้นในปี 1779 เป็นผลงานของนายแกตาโน วินาซเซีย (Gaetano Vinaccia) ในเมืองเนเปิล อิตาลี แต่ก็ถกเถียงกันว่าอาจเป็นของปลอมสำหรับตระกูลวินาซเซีย มีชื่อเสียงในการผลิต แมนโดลิน มาก่อนกีตาร์ไฟฟ้าตัวแรกเริ่มผลิตขึ้นในศตวรรษที่ 20 โดยจอร์จ โบแชมป์(George Beauchamp) ได้รับสิทธิบัตรในปี 1936 และร่วมกับ ริกเค่นแบ็กเกอร์ (Rickenbacker) ตั้งบริษัท Electro String Instrument ผลิตกีตาร์ไฟฟ้าในช่วง ปลายปีทศวรรษที่ 1930 ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1960 จอห์น เลนนอน สมาชิกวงเดอะบีทเทิลส์ ใช้กีตาร์ยี่ห้อนี้ ส่งผลให้เครื่องดนตรียี่ห้อนี้มีชื่อเสียงในกลุ่มนักดนตรีใน ยุคนั้น และในปัจจุบันบริษัทริกเค่นแบ็กเกอร์ เป็นบริษัทผลิตกีตาร์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาผู้หนึ่งที่สมควรจะ กล่าวถึงเมื่อพูดถึงประวัติของกีตาร์ก็คือ Fernando Sor ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีความสำคัญและมีอิทธิพล ต่อวงการกีตาร์เป็นอันมาก เนื่องจาการอุทิศตนให้กับการพัฒนารูปแบบการเล่นกีตาร์เทคนิคต่าง ๆ และได้แต่งตำราไว้มากมาย ในปี 1813 เขาเดินทางไปยังปารีตซึ่งเขาได้รับความสำเร็จและความนิยมอย่างมาก จากนั้นก็ได้เดินทางไปยังลอนดอนโดยพระราชูปถัมป์ของ Duke of Sussex และที่นั่นการแสดงของเขาทำให้กีตาร์ เริ่มได้รับความนิยม จากอังกฤษเขาได้เดินทางไปยังปรัสเซีย รัสเซียและได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากชาว เมือง เซนต์ ปีเตอร์เบิร์ก ซึ่งที่นั่นเขาได้แต่งเพลงที่มีความสำคัญอย่างมากเพลงหนึ่งถวายแก่พระเจ้า Nicolus I จากนั้นเขาก็ได้กลับมายัง ปารีตจนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อปี 1839 หลังจากนั้นได้มีการเรียนีการสอนทฤษฎีกีตาร์ที่เด่นชัดและสมบูรณ์มากขึ้น ทำให้กีตาร์ได้รับการพัฒนาอย่างมาก หลังจากนั้นมีอีกผู้หนึ่งที่มีความสำคัญต่อกีตาร์เช่นกันคือ Francisco Tarrega (1854-1909) ซึ่งเกิดมาในครอบครัวที่ยากจนแต่ด้วยความสามารถด้านดนตรีของเขา ก็ทำให้เขาประสบความสำเร็จ จนได้จากการแสดง ณ Alhambra Theater จากนั้นเขาได้เดินทางไปยัง Valencia, Lyons และ Paris เขาได้รับ การยกย่องว่าได้รวมเอาคุณสมบัติของเครื่องดนตรี 3 ชนิดมารวมกันคือ ไวโอลิน, เปียโน และ รวมเข้ากับเสียงของกีตาร์ได้อย่างไพเราะกลมกลืน ทุกคนที่ได้ฟังเขาเล่นต่างบอกว่าเขาเล่นได้อย่างมีเอกลักษณ์ และสำเนียงที่มีความไพเราะน่าทึ่ง หลังจากเขาประสบความสำเร็จใน London, Brussels, Berne และ Rome เขาก็ได้เดินทางกลับบ้านและได้เริ่มอุทิศตนให้กับการแต่งเพลงและสอนกีตาร์ อย่างจริงจัง ซึ่งนักกีตาร์ในรุ่นหลัง ๆ ได้ยกย่องว่าเขาเป็นผู้ริเริ่มการสอนกีตาร์ยุคใหม่
อีกคนหนึ่งที่จะขาดไม่ได้คือ Andres Sergovia ผู้ซึ่งเดินทางแสดงและเผยแพร่กีตาร์มาแล้วเกือบทั่วโลกเพื่อให้ คนได้รู้จักกีตาร์มากขึ้น (แต่คงไม่ได้มาเมืองไทยน่ะครับ) ทั้งการแสดงเดี่ยวหรือเล่นกับวงออเคสตร้า จนเป็น แรงบันดาลใจให้มีการแต่งตำราและบทเพลงของกีตาร์ขึ้นมาอีกมากมาย อันเนื่องมาจากการเผยแพร่ความรู้ใน เรื่องกีตาร์อย่างเปิดเผยและจริงจังของเขาผู้นี้ นอกจากนี้ผลงานต่าง ๆ ของเขาได้ทำให้ประวัติศาสตร์กีตาร์เปลี่ยน หน้าใหม่เพราะทำให้นักีตาร์ได้มีโอกาสแสดงใน concert hall มากขึ้น และทำให้เกิดครูและหลักสูตรกีตาร์ขึ้นใน โรงเรียนดนตรีอีกด้วย
สำหรับการร้องไปพร้อมกับกีตาร์ได้เริ่มมีขึ้นเมื่อสามารถปรับให้ระดับเสียง ของกีตาร์นั้นเข้ากับเสียงร้องได้ ซึ่งผม เข้าใจว่าในอดีตกีตาร์มีไว้บรรเลงมากกว่าแต่เมื่อสามารถผสมผสานเสียงของ กีตาร์กับเสียงร้องได้ การร้องคลอไปกับกีตาร์จึงเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น นักร้องนักกีตาร์(คือทั้งเล่นทั้งร้อง)น่าจะมาจากนักร้องในยุค
กลางซึ่งเป็นชนชั้นสูงได้ปลีกตัวไปทำงานในแบบที่เป็นอิสระและอยากจะทำจึงมี การผสมกันกับรูปแบบ ของดนตรี พื้นบ้านมากขึ้น ซึ่งงานดนตรีจึงแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. เป็นงานประพันธ์เพื่อจรรโลงโลกหรือมีความจริงจังในทางดนตรีเพื่อการแสดงเป็นส่วนใหญ่ ก็คือเพลงคลาสสิกนั่นเอง
2. งานที่สร้างจากคนพื้นบ้านจากการถ่ายทอดจากพ่อสู่ลูก ลูกสู่หลาน เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและสภาพความ เป็นอยู่ แสดงถึงวิถีการดำเนินชีวิต ใช้ในการผ่อนคลายจากการงานความทุกข ์ความยากจน เล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ อันได้มาจากประสบการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัวขณะนั้นจึงมีความเป็นธรรมชาติอยู่มาก และโดยที่ทั้ง 2 ส่วนดังกล่าวได้มีการแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันอยู่ตลอดเวลา จากอดีตถึงปัจจุบันจนมีการซึมซับ เข้าไปยังเนื้อเพลงและทำนองเพลง ทำให้เกิดรูปแบบของดนตรีในแบบใหม่ ๆมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอเมริกา ผู้ที่เข้าไปอาศัยได้นำเอาดนตรีและการเต้นรำของพวกเขาเข้ามาด้วยเช่นพวกทหาร นักสำรวจ พวกเคาบอยหรือ คนงานเหมืองทำให้มีการผสมผสานกันในรูปแบบของดนตรีและที่สำคัญที่สุดคือพวก อเมริกัน นิโกร ซึ่งส่วนใหญ่ ่จะอยู่ในฐานะทาสซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดเพลงบลูส์นั่นเองซึ่งส่วนใหญ่แสดงถึง ความยากลำบาก ความยากจนถ่ายทอด มาในบทเพลงสไตล์ของพวกเขาเพื่อได้ผ่อนคลายจากความเหนื่อยยากและเล่นง่าย ๆ ด้วยกีตาร์กับเม้าท์ออร์แกน เป็นต้น ซึ่งเพลงบลูส์นั่นเองที่เป็นพื้นฐานของดนตรีอีกหลาย ๆ ประเภทไม่ว่าจะเป็น เพลงร็อคหรือแจ๊สในปัจจุบัน จนเดี๋ยวนี้กีตาร์มีความสำคัญกับดนตรีแทบทุกชนิด
แม้ว่ากีตาร์จะถูกสร้างมาหลายรูปแบบแต่แบบที่ถือว่าดีที่สุดคงเป็นแบบ สแปนนิช 6 สาย ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนา ที่ดีอย่างมากทั้งด้านการประดิษฐ์และด้านเทคนิคซึ่งสามารถใช้เล่นในงานแสดง คอนเสิร์ท(หมายถึงดนตรีคลาสสิก) หรือเล่นเพลงทั่ว ๆ ไปทำให้รูปทรงกีตาร์แบบนี้เป็นที่นิยมจนปัจจุบัน เริ่มจากในศตวรรษที่ 18 ได้มีการเปลี่ยน จากสายที่เป็นสายคู่มาเป็นสายเดี่ยวและเปลี่ยนจาก 5 สายเป็น 6 สาย ช่างทำกีตาร์ในยุคศตวรรษที่ 19 ได้ขยาย ขนาดของ body เพิ่มส่วนโค้งของสะโพกลดส่วนผิวหน้าที่นูนออกมา และเปลี่ยนแปลงโครงยึดภายใน ลูกบิดไม้ แบบเก่าถูกเปลี่ยนเป็นแบบใหม่ ในยุคเดียวกันนี้ Fernando Sor ซึ่งได้กล่าวมาในข้างต้นแล้ว เป็นผู้ที่พัฒนา และทำให้เครื่องดนตรีนี้เป็นที่ยอมรับและใช้ในการแสดงได้จน
กระทั่ง มาถึงยุคของ Andres Segovia ได้คิดดัดแปลงให้สามารถใช้กับไฟฟ้าได้ ซึ่งเป็นความพัฒนาอีกระดับของ เพลงป๊อป ในอเมริกาในช่วง 1930กีตาร์ไฟฟ้าต้นแบบช่วงนั้นเป็นแบบทรงตันและหลักการนำเสียงจากกีตาร์ไป ผสมกับ กระแสไฟฟ้าแล้วขยายเสียงออกมานั้นทำให้นักดนตรีและนักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ซึ่งชื่อเขาพวกเรารู้จัก กันดีในนามของโมเดลหนึ่งของกิ๊บสันนั่นก็คือ Les Paul ได้พัฒนาจากต้นแบบดังกล่าว มาเป็นแบบ solid body กีตาร์หรือกีตาร์ไฟฟ้าที่เราเห็นในปัจจุบันนั่นแหละครับซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น ที่สำคัญมากของดนตรียุคนั้น และทำให้กีต้าร์เป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงปี 1940
หลังจากนั้นในต้นปี 1940 นักประดิษฐ์ชาวแคลิฟอเนียอีกคนซึ่งเราก็รู้จักชื่อเขาในนามของยี่ห้อกีตาร์ที่สุดยอด
อีกยี่ห้อหนึ่งนั่นก็คือ Leo Fender เขาได้ประดิษฐ์กีตาร์และเครื่องขยายเสียงในร้านซ่อมวิทยุของเขา เขาได้สร้างเครื่อง ขยายเสียงแต่ขณะนั้นไม่มีปุ่มคอนโทรลต่าง ๆ เช่นปัจจุบัน และใช้กับกีตาร์ของเขาซึ่งมีปุ่ม ควบคุมเสียงดังเบาและ ทุ้มแหลมซึ่งเป็นต้นแบบกีตาร์ไฟฟ้ายุคใหม่ เขาไม่ได้หยุดแค่นั้นด้วยเทคโนโลยีขณะ
นั้น เขารู้ว่าเขาน่าจะดัดแปลง กีตาร์โปร่ง ให้สามารถใช้กับเครื่องขยายเสียงได้และความพยายามเขาก็สำเร็จจนได้ ในปี 1948 และได้กีตาร์ที่ชื่อว่า Telecaster (คงคุ้นหูกันนะครับ) ซึ่งชื่อเดิมที่เขาใช้เรียกคือ Broadcaster แต่คำว่า tele เป็นที่ติดปากกันมากกว่าและถือว่าเป็นกีตาร์ไฟฟ้าทรงตันในรูปทรงสแปนนิสรุ่น แรกที่ซื้อขายกันในเชิง พาณิชย์ และได้รับความนิยมอย่างมากจนกระทั่งปัจจุบัน

กีต้าร์คลาสสิค

 

กีตาร์คลาสสิก เป็นเครื่องดนตรีประเภทที่ดีดด้วยนิ้วมือ มีพัฒนาการมาก่อนศตวรรษที่15 โดยพัฒนามาจาก
เครื่องดนตรีที่เรียกว่า วิเวลา(Vihuela)ซึ่งนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายในประเทศสเปน ข้อแตกต่างของ กีตาร์คลาสสิกกับกีตาร์ชนิดอื่น คือ ขนาดของคอกีตาร์ หรือ fingerboard ที่มีขนาดที่กว้างกว่ากีตาร์ชนิดอื่น และสายที่ทำด้วยไนล่อน หรือที่เรียกกันว่าสายเอ็น เพราะแต่เดิมใช้สายที่ทำมาจากเอ็นของสัตว์ กีตาร์อีก
ประเภท หนึ่งที่มีรูปร่างใกล้เคียงกับกีตาร์คลาสสิก คือ กีตาร์ฟลาเมงโก (Flamenco Guitar) ส่วนประกอบที่สำคัญมีดังนี้
- ส่วนหัว (HEAD) เป็นไม้มีรูเจาะเป็นช่องยาว 2 ช่องในช่องยาวนี้จะมีแกนสำหรับใส่สายกีตาร์ ส่วนใหญ่เป็น
พลาสติค หรือวัสดุจำพวกกระดูกและงาช้าง(ซึ่งจะมีราคาแผง)หรือแม้แต่แกนเหล็ก มีปลายยื่นออกมาด้านหลัง
เป็นลูกบิด 6 อัน ลูกบิดจะตั้งฉากกับพื้นเมื่อวางกีตาร์ในแนวนอน
- ส่วนคอ (NECK) กีตาร์คลาสสิกนั้นจะมีคอที่ใหญ่กว่ากีตาร์อื่น ๆ ไม้ส่วนคอจะตรงและมีขนาดเท่ากันตั้งแต่ส่วน
บนสุดถึงล่างสุดของคอ จำนวนเฟร็ต ถ้านับจากจุดต่อลำตัวจะมี 12 เฟร็ต บริเวณฟิงเกอร์บอร์ต (FINGERBOARD จมีจุดบอกตำแหน่งเฟร็ตบริเวณสันคอกีตาร์แทนที่จะอยู่บนฟิงเกอร์บอร์ตเหมือน กีตาร์ทั่วไป
- ลำตัว (BODY) เป็นส่วนที่ยึดติดกับคอกีตาร์ ตั้งแต่เฟร็ตที่ 12 เข้ามาในกล่องเสียง (SOUND BOX) มีลักษณะ เรียบ ด้านหน้า มีรูกลมเป็นโพรงเสียงอยู่ต่อจากด้านล่างสุดของคอส่วนล่างของโพรงเสียงจะมี บริดจ์ (BRIDSE) ที่ยึดสายกีตาร์ไว้กับลำตัวด้านหน้า ข้อสังเกต กีตาร์คลาสสิกโดยมากจะใช้สายไนลอน สายเบส (4,5,6) จะเป็นสายที่พันด้วยเส้นโลหะเล็ก ๆ เช่น ทองแดง บรอนส์ ฯลฯ กีตาร์คลาสสิกนั้นให้เสียงในโทนพริ้วไหว สำหรับผู้ที่มีความชำนาญในการเล่นแล้ว กีตาร์คลาสสิกจะสามารถบันดาลเสียงทุกเสียงที่จะประกอบกันให้เป็น เพลงที่ไพเราะจับใจได้อย่างสมบูรณ์ไม่ว่าจะเป็นท่วงทำนอง(MELODY) คอร์ด(CHORD) และเบสส์(BASS) ในการเล่นกีตาร์คลาสสิกนั้นผู้เล่นต้องใช้ความรู้ ความสามารถ และเทคนิคมากมายซึ่งในการฝึกหัดนั้นต้องใช้ทั้ง เวลา และความพยายามอย่างสูง มันจึงกลายเป็นดาบสองคมไปเลยในบางครั้ง คือ แทนที่จะช่วยให้ท่านได้พบกับ ความซาบซึ้ง และแตกฉานทางดนตรีมันกลับทำให้ท่านท้อแท้หรือมีอคติกับดนตรี (คลาสสิก) ไปเลยก็ได้ กีตาร์คลาสสิกจึงจัดได้ว่ามีความสมบูรณ์ในตัวมันเองจนมีผู้กล่าวว่าการเล่น กีตาร์คลาสสิกนั้นไม่ต่างอะไรไปกับ
การเล่นของวงออร์เคสต้าร์ขนาดย่อมๆเลยที่เดี่ยว

กีต้าร์ไฟฟ้า


กีตาร์ไฟฟ้า (Electric Guitar) คือ กีตาร์ ที่มีการติดตั้งอุปกรณ์ที่มักเรียกว่า ทำหน้าที่แปลงการสั่นของสายกีตาร์ให้ กลายเป็นสัญญาณอิเล็คทรอนิคส์ ส่งผ่านสายสัญญาณ (Cable) ไปยังเครื่องขยายสัญญาณ (แอมปลิฟายเออร์ และออกสู่ลำโพงในที่สุดกีตาร์ไฟฟ้ามีความแตกต่างจากกีต้าร์โปร่ง(Acoustic Guitar) และ กีต้าร์โปร่งไฟฟ้า (Acoustic Electric Guitar) ตรงที่ลำตัวของกีตาร์ไฟฟ้าโดยส่วนมากจะไม่มีโพรงเสียง หรืออาจเรียกว่า "ลำตัวตัน" (Solid Body) อย่างไรก็ดี กีตาร์ไฟฟ้าอาจหมายรวมถึง กีตาร์ที่มีโพรงเสียงบางประเภทที่มีการติดตั้ง Pick Up (Hollow Body Guitarซึ่งนิยมใช้เล่นในแนวดนตรีประเภทแจ๊ส หรือ บลูส์ ปัจจุบันนิยมนำสัญญาณเสียงที่ได้จาก กีตาร์ไฟฟ้ามาดัดแปลงผ่านอุปกรณ์ดัดแปลงสัญญาณ Guitar Effect ก่อนเข้าสู่เครื่องขยายสัญญาณ เพื่อให้ได้ ลักษณะเสียงที่มีความแตกต่างหลากหลายมากขึ้นจากกีตาร์ตัวเดียวกีตาร์ไฟฟ้า เป็นที่นิยมแพร่หลาย และใช้เล่น กันในแทบทุกประเภทดนตรี เนื่องจากความสะดวกในการใช้งานและการปรับแต่งเสียงกีตาร์ไฟฟ้าผลิตออกมา ในหลายระดับคุณภาพและราคา ยี่ห้อที่เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางได้แก่ Gibson และ Fender
หากแบ่งตามโครงสร้างของลำตัวกีต้าร์ (Body)อาจแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
  • 1)กีต้าร์ตัวตัน (Solid Body)
หมายถึง กีต้าร์ไฟฟ้า ปกติที่ลำตัวมีลักษณะตัน ไม่มีการเจาะช่องในลำตัวกีต้าร์เหมือนอย่างกีตาร์โปร่ง หรือ อะคูสติกกีตาร์ แต่บริเวณลำตัวจะมีตัวรับสัญญาณแรงสั่นสะเทือนของสายกีต้าร์ (Pick Up) ขณะที่ดีด เพื่อส่งต่อไปยังเครื่องขยายเสียง (Amplifier)ต่อไป โดยทั่วไป ตัวรับสัญญาณจะมี 2 ประเภท คือ ตัวรับสัญญาณแบบแถวเดี่ยวที่เรียกว่า Single Coil และแบบแถวคู่ที่เรียกว่า Humbucker
  • 2)กีต้าร์ลำตัวกึ่งโปร่ง (Semi-Hallow Body)
เป็นกีต้าร์ไฟฟ้าที่มีลักษณะโครงสร้างส่วนกลางของ ลำตัวในแนวเดียวกับคอกีต้าร์ มีลักษณะตัน (แต่มีการเจาะช่องเพื่อใส่ตัวรับสัญญาณแรงสั่นสะเทือนของสายกีต้าร์ (Pick Up)เช่นเดียวกับกีต้าร์ตัวตัน) บริเวณส่วนข้างของกีต้าร์มีการเจาะช่อง (Sound Hole)เอาไว้เพื่อให้เกิดการกำทอนของเสียงมากกว่ากีต้าร์ตัวตัน ซึ่งจะให้เสียงที่เป็นอคูสติกมากขึ้น นิยมใช้ในดนตรีแจ๊สหรือบลูส์ เป็นกีต้าร์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อลดเสียงรบกวนที่เรียกว่าFeed back ซึ่งเกิดจากกีต้าร์ไฟฟ้าลำตัวโปร่ง (กล่าวคือ ยังมีเสียงรบกวนบ้างแต่น้อยลงกว่าเดิม)
  • 3)กีต้าร์ลำตัวโปร่ง (Hallow Body)
คือ กีต้าร์ไฟฟ้าที่มีการเจาะช่องเอาไว้เพื่อให้เกิดการกำทอนของเสียง (Sound Hole) เช่นเดียวกับกีต้าร์โปร่งหรืออคูสติก และกีต้าร์ลำตัวกึ่งโปร่ง ปกติช่องดังกล่าวมักจะอยู่ด้านข้างของลำตัวกีต้าร์ เนื่องจากบริเวณกลางลำตัวจะมีการใส่ตัวรับสัญญาณแรงสั่นสะเทือนของสายกีต้า ร์ (Pick Up)เช่นเดียวกันกับกีต้าร์ตัวตัน ซึ่งผลของการที่มีช่องกำทอนเสียง ทำให้ลักษณะของเนื้อเสียงที่ได้เป็นอคูสติกมากกว่า กีต้าร์ Semi-Hallow Body แต่หากขยายเสียงให้ดังมากจะก่อให้เกิดเสียงรบกวนที่เรียกว่า Feed back กีต้าร์ประเภทนี้มักจะนิยมใช้กับดนตรีแจ๊สหรือบลูส์เป็นส่วนใหญ่
ส่วนประกอบของกีตาร์
กีตาร์แบ่งออกได้เป็น 4 ส่วนได้แก่
  • ส่วนของหัวกีตาร์
ส่วนหลัง
ส่วนหน้า

ส่วนไม่มี
  • ส่วนของคอกีตาร์
  • ส่วนของลำตัวกีตาร์

กีต้าร์เบส

“เบส” เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ในทางสากลสามารถเรียกได้ทั้ง electric bass (เบสไฟฟ้า), electric bass guitar (กีตาร์เบสไฟฟ้า) หรือเรียกสั้นๆว่า bass (เบส) ลักษณะของเบสจะมีรูปร่างใหญ่กว่ากีตาร์ มีโครงสร้างของคอที่ใหญ่และยาวกว่า มีย่านความถี่เสียงต่ำ มีหน้าที่โดยหลักๆในการให้จังหวะ คือคุมจังหวะตาม rhythm, line, pattern และ groove ของดนตรี ในขณะเดียวกันก็สามารถขยายระดับความสามารถการเล่นให้สูงขึ้น ตามแนวเพลงและการประยุกต์ใช้ต่างๆ เช่น เทคนิคการ Slap หรือการตบเบส (รวมไปถึงเทคนิคอื่นที่ใช้ร่วมกัน กับการ Slap) ในดนตรี Funk, Jazz และอีกหลายแนว การจิ้มสาย การโซโล่ การเล่น Harmonics การเล่น Picking เป็นต้น เบสไฟฟ้าจัดว่าเป็นเครื่องดนตรีที่ถือกำเนิดหลังเครื่องดนตรีอื่นๆในประเภท วง String คือสร้างขึ้นหลัง กีตาร์ กลอง คีย์บอร์ดหรือซินธิไซเซอร์ (รายละเอียดจะมีในหัวข้อประวัติของเบส) เครื่องดนตรีประเภทเบสที่ใช้กัน ในวงดนตรีและแนวต่างๆก็จะมี เบสไฟฟ้า เบสโปร่งไฟฟ้า fretless bass (เบสไม่มีเฟรต) และ double bass, upright bass บ้างทีก็เรียกกันว่า acoustic bass แต่ก็มีภาษาพูดเรียกกันติดปากสำหรับนักดนตรีบางคนว่า เบสใหญ่ เบสไฟฟ้าที่ใช้โดยทั่วไปจะมี 4 สาย 5 สาย และ 6 สาย ส่วนสายที่มากไปกว่านี้ก็มีเนื่องจากนักดนตรี บางคนอาจจะออกแบบเพื่อประยุกต์ใช้ทางการเล่นเฉพาะตัว เบส 4 สายการตั้งสายตามมาตรฐานคือ E-A-D-G (เรียงจากต่ำ-สูง) เบส 5 สายคือ B-E-A-D-G ส่วน 6 สายคือ B-E-A-D-G-C แต่อย่างไรก็ตามเบสก็ได้ถูกขยายขอบเขตออกไปตามแนวคิดและการประยุกต์ใช้ของ มือเบสต่างๆ จำนวนสายก็อาจจะมีอื่นๆอีก เช่น 3 สาย, 7 สาย, 8 สาย ,9 สาย เป็นต้น

ประวัติ
เมื่อกล่าวถึง Bassline เริ่มเป็นที่รู้จักกันในวงการดนตรี โดยเริ่มได้ยิน เช่นในบทเพลงของ J.S. Bach ระหว่างปี 1685-1750 ซึ่ง bassline มีความ สำคัญเฉกเช่นเดียวกับในส่วนของ soprano , alto , tenor เลยที่เดียว โดยในดนตรีคลาสสิก และ ออเครสตร้า เสียงเบสจะถูกกำหนดขึ้นโดยเครื่องดนตรีที่มีชื่อว่า upright bass หรือ bass viola ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีตระกูลเบสรุ่นแรกในโลก
ต่อมาเมื่อเริ่มมีดนตรีของคนแอฟริกัน คือ Ragtime ( ดนตรีแนวเต้นรำของชาวแอฟริกัน) และ New Orleans Jazz โดยมีอุปกรณ์เสียงต่ำที่เล่นจาก brass bass และ tuba เนื่องจากเป็นการเล่นโดยใช้ลมหายใจในการเป่า ที่ใช้ tuba ในการเล่นเป็นจังหวะ 2 beat ใน 1 bar และนี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของเพลง jazz และเพลงเต้นรำ
เมื่อเพลง jazz มีการพัฒนาและเกิดการวิวัฒนาการขึ้นเป็นจังหวะ swing ในปี 1935 การแต่งและการเรียบเรียงดนตรีจึงเกิดมีความซับซ้อนและยุ่งยากตามมา แต่ในขณะนั้น ได้มีในงานดนตรีที่มีชื่อเสียงในวงการเพลง jazz เช่น Duke Ellington , Count Basie and Benny Goodman และจังหวะแบบ 4 จังหวะ ใน 1 ห้องเพลง เริ่มเป็นที่แพร่หลายและนำไปใช้กันมากขึ้น ตั้งแต่ที่ brass bass ไม่สามารถที่จะเล่นในจังหวะนี้ได้ Acoustic upright bass จึงได้เป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญที่ขึ้นมาแทนที่ brass bass อย่างไรก็ตาม Acoustic upright bass ก็มีข้อจำกัดของมันเองอยู่เหมือนกัน ในเรื่อง ของลำตัวที่ค่อนข้างใหญ่พกพายาก และมีน้ำเสียงที่ไม่สามารถดังดีพอและเหมาะสมในการเล่นร่วมกับวงดนตรีประเภท Big band ที่มีเครื่องดนตรีหลากหลายชิ้น เช่น brass 7 ตัว ,เปียโน ,กีต้าร์ กลอง สิ่งนี้จึงมีการเกิดปัญหาต่อในหมู่คนเล่นเบส
ต่อมาจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการประดิษฐ์ เบสไฟฟ้าขึ้นมาตัวแรกของโลก เบสไฟฟ้าตัวแรกของโลก ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาโดย Clarence Leo Fender ในปี 1951 จากบริษัท Fender Musical Intrumental Company (บริษัทเดียวกับที่ผลิตกีตาร์ Fender) ร่วมกันผลิตเบสที่มีชื่อรุ่นว่า Precision bass โดย Leo Fender ได้ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อการแก้ไขปัญหาของเบสรุ่นเก่าที่มีปัญหาในเรื่องของ เสียงและขนาดที่ใหญ่ของ Acoustic upright bass ซึ่งเขาได้ตั้งชื่อรุ่นว่า Precision bass เพื่อให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย ที่แปลว่า "เบสที่มีความกระชับ " โดยมีการใช้เฟร็ทติดลงบน Fingerboard และ แก้ไขในเรื่องของน้ำเสียงให้ดีขึ้น
Leo Fender กล่าวว่า "พวกเราต้องให้ความเป็นอิสระแก่มือเบสจาก Acoustic upright bassการ ผลิตเบสจึงเป็นการเกิดอุตสาหกรรมการผลิตเบสขึ้นเป็นครั้งแรก โดยความร่วมมือกับ George Fullerton Precision Bass รุ่นนี้มีการสร้างเฟรทที่ลำคอ มีลักษณะเป็น slab-bodied และ มี 34" scale ต่อมาเบสรุ่นนี้จึงเป็นที่นิยมในหมู่นักดนตรีระดับโลก ในทุก ๆ แขนงทางดนตรี เช่น Monk Montgomery ,Shifti Henri ,Dave Myers
วงของ Vibist Lionel Hampton นับเป็นรุ่นแรกที่นำ P-Bass ไปใช้ในการแสดง โดยมือเบสของเขา คือ Roy Johnson และเบสตัวนี้มีเสียงที่ออกมาได้อย่างน่าทึ่งมาก จากคำวิจารณ์ของ Leonard Feather ซึ่งได้เขียนในนิตยสาร Down Beat เมื่อ 30 กรกฎาคม 1952 หลังจาก Roy Johnson ออกจากวงของ Hampton Monk Montgomery จึงเป็นบุคคลแรกที่สามารถสร้างชื่อเสียงขึ้นจากเบสตัวนี้ แต่เขาก็ยังคงใช้ upright bass ในการเล่นควบคู่กันไปในวงของเขา กับมือกีตาร์คือ Wes Montgomery (มือกีตาร์ฝีมือดีแห่งวงการ) ซึ่งเป็นน้องชายเขา
นอกจากนี้ นักดนตรี Blues ก็นำเอาเบสรุ่นนี้ไปใช้ในบทเพลงเช่นเดียวกัน โดยในปี 1958 Dave Myers ได้นำ Precision Bass ไปใช้ในการบันทึกเสียงเบส ที่สร้างความสำเร็จให้แก่นักดนตรี Blues สมัยนั้นอย่างมากมาย โดย เขาได้พูดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม ปี 1998 ว่า "ผมสร้างความประสบความสำเร็จให้กับ Fender Bass.."

ส่วนประกอบของกีต้าร์

ส่วนประกอบของกีต้าร์ ( Anatomy of a guitar )
1.1 ชุดลูกบิด โดยทั่วไปที่เราพบเห็นก็จะมี 2 แบบ ได้แก่แบบที่ตัวลูกบิดหันไปด้านหลังตั้งฉากกับตัวกีตาร์แกน
หมุนสายเป็นพลาสติกซึ่ง จะใช้กับกีตาร์คลาสสิก หรือกีตาร์ฝึก(แต่จะเป็นแบบที่แกนหมุนสายเป็นเหล็กใช้กับ
กีตาร์ราคาไม่สูงนัก) และอีกแบบจะขนานกับตัวกีตาร์ ์หรือแกนหมุนสายตั้งฉากกับตัวกีตาร์ซึ่งใช้กับกีตาร์โฟล์ค
หรือ กีตาร์ไฟฟ้าทั่ว ๆ ไปที่เราเห็นนั่นเอง แต่ละบริษัทที่ผลิตลูกบิดกีตาร์นั้นจะ มีระบบเป็นของตัวเองเช่น ระบบล็อคกันสายคลายเวลาดีด อะไรเหล่านี้เป็นต้น
1.2 นัท (nut) บางคนอาจเรียกว่าหย่องหรือสะพานสายบน แต่ผมจะเรียกว่านัทจะดีกว่านะครับ มันจะติด อยู่ปลาย
บนสุด ของฟิงเกอร์บอร์ด เพื่อรองรับสายกีตาร์ให้ยกสูงจากฟิงเกอร์บอร์ดซึ่งระยะความสูงของสายกับฟิงเกอร์บอร์ด
ดังกล่าว เรียกว่า action มีความสำคัญมาก เพราะถ้ามันตั้งความสูงไว้ไม่เหมาะสมแล้วจะทำให้การเล่นกีตาร์
ลำบากมาก คือถ้าระยะดังกล่าวสูงไปคุณต้องออกแรงกดสายมากขึ้นก็จะเจ็บนิ้วมากขึ้นแต่ ถ้ามันตั้งไว้ต่ำไปก็จะ ทำให้เวลาดีดความสั่นของสายจะไปโดนเฟร็ตทำให้เกิดเสียงแปลกๆออกมา
การปรับแต่งนั้นคุณสามารถที่จะทำได้ด้วยตัวเองโดยการถอดมันออกมาและใช้ตะไบถูกับฐานของมันหรือเซาะร่อง
ทั้ง 6 ให้ลึกลงไป(วิธีหลังผมไม่แนะนำเท่าไรเพราะถ้าคุณเซาะร่องไม่ดีจะมีผลกับเสียงกีตาร์ของคุณ)กรณีที่สูงเกิน
ไป ตรงกันข้ามถ้าต่ำไปก็หาเศษกระดาษหนา ๆ หรือเศษไม้มารองได้นัทจนได้ความสูงที่คุณพอใจ โดยปกติ
ประมาณ 2 มม. สำหรับกีตาร์ไฟฟ้าบางรุ่น(โดยเฉพาะที่มีชุดคันโยก)มักจะมีนัทแบบที่ล็อคสาย กีตาร์ได้คือจะมี 6 เหลี่ยมขันอัดให้โลหะชิ้นเล็ก ๆ ไปกดสายกีตาร์เพื่อกันสายคลายเมื่อเล่นคันโยก กรณีที่คุณต้องเปลี่ยนนัทเช่น
มีการแตกหักคุณจะต้องเช็คขนาดของนัทของคุณให้ดีก่อนไปซื้อเพราะนัทมีขายหลาย ขนาดผมเคยแล้วไปซื้อมา กลายเป็นคนละขนาดต้องไปเปลี่ยนอีก แต่ถ้าเป็นกีตาร์ระดับราคาไม่สูงนักคิดว่าคงไม่มีปัญหา
 2. ส่วนคอกีตาร์ ประกอบด้วย
        2.1 คอกีตาร์ คือส่วนที่เราใช้จับคอร์ดเล่นโน๊ตต่าง ๆ มีความสำคัญมากสำหรับกีตาร์ก่อนซื้อคุณจะต้องดูให้ดีดัง
ที่แนะนำในหัวข้อการเลือกซื้อกีตาร์ คอกีตาร์ควรจะทำมาจากไม้ มะฮอกกานี หรือไม้ ซีดา หลักการที่สำคํญที่สุด คือคอกีตาร์ต้องตรง ไม่มีรอยแตกหรือปริของเนื้อไม้

        2.2 fingerbord เป็นแผ่นไม้ที่ติดลงบนคอกีตาร์อีกชั้น เป็นตัวที่ใช้ยึดเฟร็ต หรือลวดลายมุกประดับต่าง ๆ
และเราก็จะเล่นโน๊ตต่าง ๆ ของกีตาร์บนหน้าฟิงเกอร์บอร์ดนั่นเอง ไม้ที่นิยมใช้จะเป็นไม้ โรสวูด หรือไม้ อีโบนี ซึ่งมีเนื้อไม่แข็งเกินไป มีแแบที่แบนเรียบของกีตาร์คลาสสิกและกีตาร์โฟล์กับกีตาร์ไฟฟ้า ส่วนใหญ่จะโค้ง เล็กน้อยเพื่อให้เข้ากับนิ้วเวลาทาบบนคอ

         2.3 เฟร็ต (fret) ทำมาจากโลหะฝังอยู่บนคอกีตาร์เป็นตัวที่จะกำหนดเสียงของโน็ตดนตรีจากการกด สายกีตาร์ลงบนเฟร็ตต่าง ๆ ซึ่งทำให้สายมีความสั้นยาวต่างกันไปตามการกดสายของเราว่ากดที่ช่องใดระยะสาย ที่เปลี่ยนไปก็ ็คือระดับเสียง ที่เปลี่ยนไปด้วย สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือระยะระหว่างเฟร็ตแต่ละตัวต้องได้มาตรฐานมิฉะนั้น จะทำให้เสียงเพี้ยน ได้แต่เราไม่สามารถเช็คระยะดังกล่าวได้เราอาจเช็คคร่าว ๆ จากฮาโมนิคซึ่งผมได้กล่าวแล้วในเรื่องการเลือกซื้อ กีตาร์ลองไปอ่านดูก็ได้ครับ จำนวนของเฟร็ตก็จะขึ้นกับความยาวของคอกีตาร์ซึ่งแต่ละผู้ผลิตก็จะต่างกันไป ปกติกีตาร์คลาสสิกจะมีประมาณ 18 ตัว กีตาร์โฟล์คประมาณ 20 ตัว แต่กีตาร์ไฟฟ้าซึ่งมักจะมีการเล่นโซโลจึงมีช่อง
ให้เล่นโน๊ตมากขึ้นประมาณ 22-24 ตัว และกีตาร์คลาสสิกซึ่งคอกีตาร์แบนราบ เฟร็ตก็จะตรงแต่กีตาร์โฟล์คหรือกีตาร์ไฟฟ้านั้นส่วนใหญ่จะมีคอที่โค้งเล็ก น้อย ก็จะมีเฟร็ตที่โค้งตามไปด้วย
        2.4 มุกประดับ จุดประสงค์คือให้ใช้สังเกตตำแหน่งช่องกีตาร์ปกติจะฝังที่ช่อง (1),3,5,7,9,(10),12,14,17,19,21
(ไม่แน่นอนตายตัวขึ้นกับผู้ผลิต) กีตาร์คลาสสิกจะไม่มีมุกประดับฝังบนหน้าฟิงเกอร์บอร์ดแต่จะฝังด้านข้างแทน แต่กีตาร์โฟล์คและกีตาร์ไฟฟ้าจะฝังไว้ทั้ง 2 ส่วน(บางรุ่นก็มีแต่ด้านข้าง) ทั้งนี้ขึ้นกับแต่ละผู้ผลิตจะออกแบบ โดยทั่วไปจะเป็นรูปวงกลม บาทีก็รูปข้าวหลามตัด หรือที่แพงหน่อยก็จะเป็นลายพวกไม้เลื้อย เลื้อยไปตามหน้า ฟิงเกอร์บอร์ด
        2.5 ก้านเหล็กปรับแต่งคอ (Truss Rod) ในกีตาร์ที่อยู่ในระดับกลางขึ้นไปจะมีแท่งเหล็กฝังอยู่ตามความยาวคอกีตาร์ ด้วยเพื่อเสริม ความแข็งแรงให้กับ กีตาร์ป้องกันการโก่งตัวของคอกีตาร์ซึ่งสามารถปรับแต่งได้เมื่อคอกีตาร์เกิด โก่งงอไปแต่การปรับแต่งนั้น ถ้าคุณไม่แน่ใจอย่าเสี่ยงนะครับเพราะถ้าคุณ ฝืนมันมากไปอาจทำให้คอกีตาร์เสียหายก็ได้ให้ผู้ที่เขาชำนาญทำ ดีกว่าครับ
3.1 ลำตัวกีตาร์ (body) หมายถึง 3 ส่วนได้แก่ ด้านหน้า(top) ควรทำมาจากไม้ อัลพาย สปรูซ (alpine spruce)
ด้านหลัง (back) และด้านข้าง (side) ควรเป็นไม้โรสวูด(rosewood) และที่สำคัญคือลักษณะของไม้ต้องไม่มีรอยแตก ไม่มีตาไม้และมีลายไม้ที่ละเอียดไปตามความยาวจึงมีคุณภาพดี ส่วนที่เว้าของ body บางทีเราก็เรียกว่าเอว
การยึดโครงไม้ด้านใน(internal bracing) มีความสำคัญมากอีกเช่นกันเพราะไม้ที่ทำ body กีตาร์นั้นบางแต่ต้องรับ
แรงดึงที่สูงมาก ถ้าโครงยึดดังกล่าวไม่ดีหมายถึงกีตาร์คุณก็จะพังในเร็ววันแน่นอน รูปแบบการยึดจะแตกต่างกัน ตามเคล็ดลับของแต่ละผู้ผลิตและกีตาร์แต่ละรุ่นแต่ละประเภท โดยทั่วไปลักษณะเป็นรูปพัด (ในรูปเป็นตัวอย่างโครงยึดด้านในของกีตาร์คลาสสิก)ไม่รวมถึงกีตาร์ไฟฟ้าซึ่ง เป็นทรงตัน หรือ solid body
3.2 โพรงเสียง (sound hole) ก็คือรูกลม ๆ หรือบางทีก็ไม่กลม ที่อยู่บนด้านหน้าของ body นั่นเอง มีหน้าที่รับเสียงจากการสั่นของสายกีตาร์ทำให้เกิดเสียงก้องดังขึ้น ซึ่งอาจจะมีลายประดับต่าง ๆ อยู่รอบ ๆ โพรงเสียงเพื่อความสวยงามอีก สำหรับกีตาร์โฟล์ค หรือกีตาร์แจ๊สมักจะมีแผ่นพลาสติกติดอยู่ด้านขอบโพรงเสียง ใต้สาย 1 เรียกว่า Pickgard เพื่อป้องกันการขูดขีดผิวกีตาร์จากการดีดด้วยปิ๊คหรือเล็บครับ จะพบกีต้าร์ไฟฟ้าด้วยเหมือนกันครับ ยิ่งเป็นฟลาเมนโกกีต้าจะมีติดทั้งด้านสาย 6 และด้านสาย 1 เลย เพราะ ลักษณะการเล่นกีตาร์ฟลาเมนโก้ จะมีการดีดสบัดนิ้วมากจึงป้องกันทั้ง 2 ด้าน
3.3 ปิคการ์ด (pick guard) สำหรับกีตาร์คลาสสิกซึ่งมักไม่ใช่ปิคในการเล่นจึงไม่มีปิคการ์ด แต่กีตาร์โฟล์คมักใช้ ปิคเล่นจึงมีปิคการ์ดไว้ป้องกันปิคขูดกับ body กีตาร์
3.4 สะพานสาย (bridge) เป็นตัวที่ยึดสายให้ติดกับ body มักทำมาจากไม้โรสวูดหรือไม้อีโบนี ถ้าเป็นกีตาร์คลาสสิกจะเจาะรูในแนวขนานกับ body กีตาร์ 6 รูไว้ใช้พันสายกีตาร์ แต่ถ้าเป็นกีตาร์โฟล์คจะเจาะรู
ในแนวตั้งฉากกับ body และยึดสายด้วยหมุดยึดสาย(pin) แต่บางรุ่นเช่นของ Ovation ไม่ใช้หมุดแต่สอดสาย
จากด้านล่างของบริดจ์คล้าย ๆ กับกีตาร์คลาสสิกแต่ไม่ต้องพันสายเพราะสายโลหะจะมีหมุดล็อคอยู่ที่ปลายสาย สำหรับกีตาร์ไฟฟ้าจะทำจากโลหะเป็นส่วนใหญ่มีทั้งแบบธรรมดาคือมีหน้าที่ยึด สายอย่างเดียว และอีกแบบคือ เป็นแบบคันโยกทั้งแบบเดิมและแบบใหม่ที่เรียกกันติดปากว่าฟรอยโรส การใส่สายจะยุ่งขึ้นมาอีกเล็กน้อย
3.5 หย่อง (saddle) จะฝังหรือยึดอยู่กับสะพานสาย เพื่อรองรับสายกีตาร์ทั้ง 6 สาย มีทั้งแบบตรงสำหรับกีตาร์คลาสสิกและแบบโค้งสำหรับกีตาร์โฟล์ค บางแบบก็แยกเป็น 2 ชิ้นแล้วแต่การออกแบบ
ของ แต่ละรุ่น บางรุ่นสามารถปรับความสูงของตัวมันได้ แต่ทั่ว ๆ ไปถ้าเรารู้สึกว่ามันสูงไปเราก็สามารถจะถอดมา แล้วใช้ตะไบหรือกระดาษทรายขัดที่ฐานของมันให้ความสูงลดลง แต่ถ้าต่ำไปก็หาเศษไม้หรือกระดาษมาเสริมให้สูง ตามความพอใจ
3.6 ปิคอัฟ (pick up) โดยทั่วไปจะเห็นชัดบนกีตาร์ไฟฟ้ามากกว่าแต่ปัจจุบันกีตาร์โปร่งบางรุ่นก็มี การประกอบปิคอัฟไว้กับกีตาร์เลย เช่นประกอบไว้ที่ใต้บริดจ์หรือใต้หย่องหรือเป็นปิคอัฟที่ซื้อมาประกอบต่าง หากก็มีสำหรับกีตาร์ไฟฟ้า
จะมีความสำคัญมากเพราะมันจะรับแรงสั่นสะเทือนของสาย ไปแปลงเป็นกระแสไฟฟ้าส่งไปยังแอมป์แล้ว ขยายเสียงต่อไปทำให้มนัสามารถปรับแต่ง เสียงได้มากมายหลายรูปแบบแล้วแต่คุณต้องการ รายละเอียดดูใน อุปกรณ์เสริม สำหรับกีตาร์ได้ครับ
3.7 ชุดคันโยก (tremolo bar) ถือว่าเป็นสเน่ห์อย่างหนึ่งของกีตาร์ไฟฟ้าเลยทีเดียวแบบเก่าที่เห็นใน fender
stratocaster รุ่นเก่า ๆ ซึ่งจะกดลงได้อย่างเดียว หรือคันโยกแบบ Bigsby ซึ่งมักพบในกีตาร์แบบ archtop หรือ
semi acoustic electric ซึ่งใช้เล่นเพลงแจ๊ส หรือคันทรีเป็นต้นและปัจจุบันวงการกีตาร์ไฟฟ้าก็ได้พัฒนาไปอีก ระดับ กับคันโยกที่เราเรียกกันตามชื่อผู้ผลิต คือฟลอยโรสหรือคันโยกอิสระนั่นเองซึ่งสามารถโยกขึ้นลงได้อย่าง อิสระช่วยให้นักกีตารืสามารถสร้างสรรค์สำเนียงดนตรีในแบบใหม่ ๆ ได้ไม่สิ้นสุด สำหรับคันโยกแบบนี้มักจะมี อุปกรณ์อีกตัวเพิ่มมาคือนัทแบบล็อคสายได้เพื่อช่วยป้องกันสายคลายตัวเมื่อ ใช้คันโยก
คันโยก Bigsby แบบต่าง ๆ
3.8 สวิทช์เปลี่ยนปิคอัฟ มักมีในกีตาร์ไฟฟ้าที่มีปิคอัฟหลาย ๆ ตัว เช่น 2 หรือ 3 ตัว ใช้ในการเปลี่ยนไปใช้ปิคอัฟตัวต่าง ๆ ซึ่งเสียงก็จะต่างกันไปด้วยเช่นต้องการเล่น rythym อาจใช้ตัวกลางหรือ ตัวบนเมื่อจะ lead ก็เปลี่ยนมาใช้ ตัวล่างที่ติดกับบริดจ ์เพราะให้เสียงที่แหลมกว่า เป็นต้น
3.9 ปุ่มควบคุ่มเสียง โดยทั่วไปจะมี 2 ชุด คือชุดควบคุมความดังเบา(volume control) และชุดควบคุมเสียงทุ้มเสียงแหลม(tone control) บางทีสำหรับกีตาร์ไฟฟ้าบางรุ่นจะมีปุ่มควบคุมเสียงและ tone แยกของปิคอัฟแต่ละตัวเช่นกีตาร์ไฟฟ้าของ gibson (รุ่น SG หรือ Les Paul เป็นต้น) สำหรับกีตาร์โปร่งไฟฟ้ามักจะ มีส่วนของ Equalizer เพิ่มเข้ามาด้วยสำหรับการปรับแต่งเสียงที่ละเอียดขึ้น และในกีตาร์รุ่นใหม่ ๆ เช่นของ Ovation จะมีระบบช่วยตั้งสายกีตารืรวมเข้าไปในส่วนคอนโทรลนี้ด้วยนับว่าเป็น เทคโนโลยีที่ดีช่วยนักกีตาร์ได้ อย่างดีเลยครับ
 3.10 ช่องเสียบสายแจ็คไปยังแอมป์ ใช้เสียบแจ็คเพื่อต่อสายไปยังแอมป์หรือผ่านเข้ายังชุดเอฟเฟ็คต่าง ๆ ของคุณ

         3.11 ที่ใส่สายสะพายกีตาร์ ไว้ใส่สายสะพายกีตาร์เพื่อเวลาคุณยืนเล่น
     ทั้งหมดก็เป็นส่วนประกอบหลัก ๆ ของกีตาร์นะครับ ถึงตรงนี้เพื่อน ๆ คงจะรู้จักกีตาร์กันมากขึ้นแล้วนะครับ

ดนตรีแนว : บับเบิ้มกัม (Bubble Gum)

ป็นดนตรีประเภทที่มีทำนองง่ายๆ สนุกสนานให้ความรู้สึกสดใสคล้ายกับการเคี้ยวหมากฝรั่ง โดยดนตรีประเภทนี้
เริ่มมีชื่อเสียงขึ้นในช่วงปี 1968-1969  โดยมีต้นกำเนิดมาจาก 2 ทาง คือ เพลงที่เด็กๆ นิยมร้องหรือเพลง
กล่อมเด็ก เพลงร็อคที่นำมาเรียบเรียงทำนองใหม่ให้สนุนสนานแบบเด็กๆ ดนตรีประเภทพนี้มักจะได้รับความนิยม
เฉพาะในกลุ่มเด็กๆและวัยรุ่น แต่นักฟังเพลงที่รุ่นใหญ่ขึ้นไป ก็ไม่ให้ความสนใจมากนัก เพราะคิดว่าเพลง
ประเภทนี้ขาดความเป็นศิลปะ เป็นที่นิยมและเสื่อมสลายไปอย่างรวดเร็ว คล้ายกับการเคี้ยวหมากฝรั่งที่เมื่อ
หมดรสชาติ ก็จะคายทิ้งไป

ดนตรีคลาสสิก (Classical Music)

ดนตรีคลาสสิก (Classical Music) 
เป็นดนตรืที่แต่งขึ้นอย่างมีระเบียบแบบแผนที่เคร่งครัด  เป็นดนตรีที่แต่งโดยคีตกวีผู้มีความสามารถ และเล่น
ดนตรีได้เป็นอย่างดี  เขียนโน้ตให้เครื่องดนตรีทุกชิ้นเล่นได้อย่างผสานกลมกลืน และบรรเลงร่วมกันออกมา
อย่างไพเราะงดงาม คีตกว่จะเป็นคนเขียนโน้ตให้วงที่เรียกว่า ซิมโฟนี ออร์เคสตร้า (Symphony Orchestra) 
บรรเลงออกมา  ซึ่งแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ
 1.  ส่วนที่เป็นเครื่องสาย เช่น ไวโอลิน วิโอล่า เชลโล่ ดับเบิลเบส
 2.  ส่วนที่เป็นเครื่องลมไม้ เช่น ฟลุต คลาริเนท โอโบ บาสซูน
 3.  ส่วนที่เป็นเครื่องเป่าทองเหลือง เช่น ทรัมเปต ทรอมโบน ทูบา ฮอร์น แซ็กโซโฟน
 4.  ส่วนที่เป็นเครื่องให้จังหวะ เช่น กลองชุด  กลองทิมปานี  เครื่องประกอบจังหวะต่างๆ

ประวัติและความเป็นมา
ศิลปการ ดนตรีมีวิวัฒนาการควบคู่กับมนุษย์มาเป็นเวลาช้านานเช่นเดียวกับงาน สถาปัตยกรรม การดนตรีมีความเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมโทรมไปตามยุคต่างๆตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ ในยุคกรีกและโรมัน การดนตรีสอดแทรกอยู่ในงานเฉลิมฉลองต่างๆและกิจการทางศาสนา โดยเริ่มมีการใช้ตัวหนังสือแทนโน้ตดนตรี ในศตวรรษที่ 5 เมื่ออาณาจักรเอมไพร์ล่มสลายลง ทำให้เป็นช่วงเวลาแห่งยุคมืด (Dark Age) ศิลปะแขนงต่าง ๆ รวมทั้งดนตรีก็เสื่อมลง จนกระทั่งถึงยุคกลาง (Middle Age) อันเป็นช่วงต่อระหว่างยุคมืดและยุคเรอเนสซองส์ (Renaissance) การดนตรีได้เริ่มฟื้นตัวขึ้นอีก

ในศตวรรษที่ 6 ผู้คนเริ่มเบื่อหน่ายดนตรีที่มีความซ้ำซาก ขาดความกลมกลืน อีกทั้งไม่มีเมโลดี้ที่ชัดเจน ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในวงการดนตรีขึ้น เริ่มจากการขับร้องที่มีตัวโน้ตพร้อมกัน ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นการร้องเพลงประสานเสียง

ดนตรีคลาสสิกตะวันตก แบ่งออกเป็นยุคสมัยตามไสตล์และปรัชญาความคิดทางดนตรีที่แตกต่างกันอย่าง ชัดเจน ทั้งนี้แบ่งออกเป็นยุคสมัยต่าง ๆ ดังนี้: ยุคกลาง (Middle Age ค.ศ. 500-1400) ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance ค.ศ. 1400-1600) ยุคบาโร้ค (Baroque ค.ศ. 1600-1750) ยุคโรแมนติก (Romantic ค.ศ. 1825-1910) และยุคศตวรรษที่ 20 (Twentieth Century ค.ศ. 1910- ปัจจุบัน)

การ รื้อฟื้นศิลปการดนตรี ได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจังในยุคกลางนี้เอง แต่เครื่องดนตรีต่าง ๆ ก็ยังพัฒนาไปไม่ถึงขั้นเป็นดนตรีออร์เคสตร้า เนื่องจากเครื่องดนตรีสมัยนั้นยังล้าสมัยอยู่มากเช่นทรัมเปตไม่มีลิ้น เครื่องเป่ายังมีเสียงไม่ครบ เครื่องสีวีโอลยังมีจุดอ่อนในเรื่องโทนเสียง เป็นต้น ซึ่งได้ใช้เวลาในการพัฒนามาจนถึงศตวรรษที่ 17 เครื่องดนตรีในยุคนั้นได้แก่ ลูท (Lute) ฮาร์พ (Harp) ไพพ์ (Pipe) โอโบ (Oboe) ซึ่งเราจะพบว่าเป็นเครื่องดนตรีของพวกมินเสตร็ล (Minstrel) และทรอบาดอร์ (Trobadour) ที่ใช้ประกอบการขับร้อง และเดินทางท่องเที่ยวไปยังปราสาทต่าง ๆ วิวัฒนาการของดนตรีพวกมินสเตร็ลได้พัฒนาการไปจนสิ้นสุดยุคกลาง และบางเพลงก็ยังมีปราฎอยู่จนกระทั่งถึงทุกวันนี้

ศตวรรษที่ 15 การดนตรีได้เริ่มเบ่งบานขึ้นด้วยการทำงานอย่างหนักของนักดนตรี 3 ท่านคือ พาเลสตริน่า (Giovanni Palestrina 1525-1594) ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งดนตรีสมัยใหม่ (The Father of Modern Music) ลาสซุส (Orland Lassus) และไบร์ด (William Byrd) ท่านทั้ง 3 นี้เป็นผู้เปิดประตูของศิลปการดนตรีจากยุคกลางไปสู่ยุคเรอเนสซองส์ อันเป็นยุคแห่งการฟื้นฟูศิลปวิทยาการทุกแขนง ในยุคนี้งานดนตรีเริ่มมีกฎเกณฑ์ในงานประพันธ์บทเพลงมากขึ้นรวมทั้งเพลงร้อง ในโบสถ์จำนวนนับร้อยและมอตเต็ตอีกจำนวน 600 เพลงซึ่งทำให้ท่านได้รับการขนานนามว่า บิดาแห่งดนตรีสมัยใหม่

อุปรากร หรือ (Opera) ได้ถือกำเนิดขึ้นในปลายศตวรรษที่ 16 ณ เมืองฟลอเรนซ์ (Florence หรือ Firence) ประเทศอิตาลี และได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนถึงจุดสูงสุดที่กรุงเวียนนา (Vienna)ประเทศออสเตรียโดยคีตกวีกลุ๊ค (Gluck) และโมสาร์ท (Wolfgang Amadeus MoZart) ในปลายศตวรรษที่ 18 และช่วงปลายศตวรรษที่ 19 อุปรากรได้รับการพัฒนาต่อมาอีกอย่างรุ่งเรืองโดยคีตกวีที่มีชื่อเสียงได้แก่ เบลลีนี่ (Belini) โดนีเซตติ (donizetti) รอสซินี่ (Rossini)แวร์ดี้ (Verdi) ปุชชินี่ (Puccini) เป็นต้น

ดนตรีคลาสสิก (Classical Music) ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 17 และต่อเนื่องมาจนถึงต้นศตวรรษที่ 18 โดยมีศิลปินอิตาเลี่ยนเป็นผู้นำ ท่านเหล่านี้ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการดนตรีให้เข้าสู่ชีวิตจิตใจชาวยุโรป อย่างแพร่หลาย ซึ่งมีเมืองที่เป็นแหล่งกำเนิดของงานดนตรีนี้ได้แก่ โรม เนเปิล ฟลอเรนซ์ อิทธิพลงานศิลปะการดนตรีของอิตาลีได้แผ่ขยายไปอย่างกว้างขวางสู่ยุโรปตะวัน ตก ส่วนทางซีกตะวันออกนั้นกรุงเวียนนาเป็นศูนย์รวมที่สำคัญทางดนตรี โดยมีนักดนตรีชาวอิตาเลี่ยนที่สำคัญได้แก่ ซิมาโรซ่า เพสซิชิลโล กัลลูปปี้ ซึ่งเดินทางเข้าไปทำงานที่นครเวียนนา เวียนนาจึงเป็นศูนย์กลางของดนตรีคลาสสิกและมีความรุ่งเรืองติดต่อกันมาถึง 200 ปี ดนตรีคลาสสิกจัดได้ว่าเป็นศิลปะการดนตรีแห่งยุคที่ดนตรีได้รับการพัฒนามาถึง จุดสูงสุดทั้งการประพันธ์และเครื่องดนตรี อาทิ ออร์แกน เปียโน และเครื่องดนตรีของตระกูลไวโอลิน เป็นต้น อันเป็นผลมาจากการการฟื้นฟูศิลปะการดนตรีจากยุคเรอเนสซองส์

ตัวอย่างแนวเพลง

ดนตรีแนว : คันทรี (Country)

ดนตรีคันทรี (อังกฤษ: Country music) เป็นแนวเพลงที่ได้รับความนิยมเกิดในแถบสหรัฐอเมริกาทางตอนใต้และทางภูเขาแอพพาลาเชียน มีต้นกำเนิดจากดนตรีโฟล์ก, ดนตรีเคลติก, ดนตรีกอสเปล และดนตรีโอลด์-ไทม์ และพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษ 1920[1] คำว่า "คันทรี" เริ่มใช้กันในยุคทศวรรษ 1940 เมื่อก่อนหน้าที่ดนตรีฮิลบิลลีเสื่อมลงไป จนคำนี้มีการใช้อย่างกว้างขวางในยุค 1970 ขณะที่คำว่า "คันทรี" และ "เวสต์เทิร์น" ได้มีการใช้น้อยลงในช่วงนั้น ยกเว้นในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ ในขณะที่ในสหรัฐอเมริกายังคงใช้คำนี้กันอย่างปกติอยู่
"The Origins of Country Music" หรือ "แหล่งกำเนิดของเพลงคันทรี่" เป็นผังแสดงต้นกำเนิดของเพลงคันทรี่ ให้เห็นเส้นทางของดนตรีชนิดต่างๆ ที่นำไปสู่ความเป็นดนตรีคันทรี่ หรือไม่ก็พัวพันกัน หลักๆได้แก่ เพลงพื้นบ้านของชนเผ่าดั้งเดิมต่างๆในอเมริกา เพลงพื้นบ้านของชาวอังกฤษ(ที่นำติดตัวไปด้วยเมื่ออพยพไปอยู่อมริกา) และของชาวอเมริกันรุ่นแรกๆ ซึ่งบางส่วนผันตัวออกไปเป็นเพลงคาวบอย นอกจากนี้แล้ว เพลงบลูส์เพลงแจ๊ส และเพลงป๊อปร่วมสมัย ก็มีอิทธิพลต่อเพลงคันทรี่ด้วยเช่นกัน
เริ่ม จากที่เรียกกันว่า เพลงคาวบอย เพลงโฟล์ค เพลงโห่ (โยเดล) เพลงเว้สเทิร์นสะวิง เพลงบลูกร๊าส เพลงร็อคอะบิลลี่ เพลงฮ้องกี้ท้องค์ เพลงคันทรี่ร็อค ฯลฯ นั้น แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไรบ้าง อันนี้คงต้องตอบรวมๆครับว่า โดยจิตวิญญาณและที่มานั้นเหมือนกัน เพราะเกิดจากศิลปินผู้ที่มีความรักและผูกพันกับการใช้ชีวิตแบบลูกทุ่ง รักธรรมชาติและสายลมแสงแดดทั้งสิ้น
ทั้ง นี้ อาจมีเรื่องราวหรือแนวทางเฉพาะตัวบ้าง ก็เป็นธรรมดาของวัฒนธรรมท้องถิ่นที่หลากหลาย กับสภาพแวดล้อมไปจนถึงลมฟ้าอากาศที่ไม่เหมือนกัน แต่หัวใจสำคัญของทุกๆเพลง ที่ยังคงอยู่มาทุกยุคทุกสมัยไม่เคยเปลี่ยนแปลงก็คือ ความเรียบง่ายในท่วงทำนอง จังหวะ และการใช้ภาษาแบบจริงใจและตรงไปตรงมาในเนื้อร้อง ไม่ว่าจะเป็นในอารมณ์ใดๆ
ความ แตกต่างมาเกิดขึ้นอย่างจริงๆจังๆก็เมื่อเพลงเหล่านี้เริ่มกลายเป็นสินค้า และการตลาดกำหนดให้ต้องมีการแยกประเภทให้ชัดเจน เพื่อการบริหารจัดการให้ได้ผลกำไรเท่านั้นเองการแยกประเภทดังกล่าว ยังแตกต่างไปตามกาลเวลาอีกด้วย จริงๆแล้วในยุคคาวบอยพิชิตตะวันตกนั้น คำว่าเพลงคันทรี่ยังไม่เกิดขึ้นด้วยซ้ำ เพิ่งมาระยะหลังๆ ที่เมื่อบทเพลงของผู้ใช้ชีวิตแบบเอ๊าท์ดอร์ทั้งหลาย ชักจะถูกแยกประเภทออกเป็นหลายอย่างมากเกินไป ก็เลยถูกนำมารวมกลุ่มไว้ภายใต้ชื่อว่า คันทรี่แอนด์เว้สเทิร์น (Country and Western) จนในที่สุดก็เหลือแค่ คันทรี่ เฉยๆ ดังเช่นทุกวันนี้
เมื่อ ปี ค.ศ.1958 อันเป็นปีแรกที่มีการจัดพิธีมอบรางวัลแกรมมี่ หรือรางวัลตุ๊กตาทองสาขาการดนตรีให้กับเพลงยอดเยี่ยมประเภทต่างๆ ในการนี้ปรากฏว่า วง เดอะ คิงสตั้น ทริโอได้รับรางวัลยอดเยี่ยมประเภทคันทรี่และเว้สเทิร์น จากเพลง Tom Dooley
แต่ พอในปีถัดมา ค.ศ.1959 วง เดอะ คิงสตั้น ทริโอ เดียวกัน กลับได้รับ รางวัลยอดเยี่ยมประเภทเพลงโฟล์ค จากผลงานดนตรีในอัลบั้มชุด At Large ที่ยังคงรูปแบบเช่นเดียวกันกับปีที่แล้ว ส่วนรางวัลยอดเยี่ยมประเภทคันทรี่และเว้สเทิร์น กลายเป็นเพลง Battle of New Orleans ขับร้องโดย จอห์นนี่ ฮอร์ตั้น อันมีท่วงทำนองจังหวะออกไปทางเพลง มาร์ช และเนื้อร้องที่บรรยายถึงการรบในสงคราม
อย่าง ไรก็ตาม เหตุการณ์เหล่านี้ได้ทำให้เพลงคันทรี่ได้รับการเผยแพร่ออกไปในวงกว้างขึ้น เกิดความคึกคักในวงการมากขึ้น มีศิลปินเก่งๆเกิดขึ้นใหม่เป็นที่รู้จักกันมากมาย และยังเป็นแรงดึงดูดให้ศิลปินเพลงในประเภทอื่นๆ หันมาแต่งเพลงร้องเพลงในแนวคันทรี่กันมากขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่น เรย์ ชาร์ลส์ ศิลปินนักเปียโนตาบอด ราชาเพลงบลูส์และแจ๊สของยุค 60's ยังหันมาออกเพลงแนวคันทรี่ อย่าง I Can't Stop Loving You และ You Don't Know me จนฮิตติดอันดับ กับอีกรายหนึ่งคือ คอนเวย์ ทวิตตี้ ผู้โด่งดังในวงการร็อคแอนโรลล์อยู่ก่อน ก็ตัดสินใจผันตัวเองมาเป็นศิลปินเพลงคันทรี่อย่างถาวร มีเพลงฮิตอย่างเพลง Hello Darling
ใน ทางกลับกัน ก็มีศิลปินบางคนที่แจ้งเกิดในวงการเพลงคันทรี่ อย่างโอลิเวีย นิวตัน จอห์น สาวสวยนัยน์ตาโตสายเลือดเว้ลช์ ผู้โด่งดังมาถึงบ้านเราในยุค 70's กับเพลงฮิตหลายเพลงเช่น Let Me Be There และ If You Love Me Let Me Know พอประสบความสำเร็จ ก็หันไปมุ่งมั่นเอาดีทางเพลงป๊อปแทน หลังจากนั้นไม่นานก็ได้เป็นนางเอกหนังวัยรุ่น
และ มีอีกหลายคนที่ตั้งต้นจากคันทรี่ แต่มีเพลงฮิตข้ามไปติดอันดับป๊อปด้วย เลยถือโอกาสแอบไปร้องเพลงป๊อปบ้างเป็นครั้งเป็นคราว แต่ไม่ถึงกับตีจากวงการคันทรี่ไปเสียทีเดียว อย่างเช่น เค็นนี่ รอเจ้อร์ส ไงครับ มีเพลงฮิตติดอันดับทั้งสองประเภทหลายเพลงในยุค 70's เช่น Ruby Don't Take Your Gun To Town, Coward Of The Country และ The Gambler
ต้อง ถือว่าตั้งแต่ยุค 60's เป็นต้นมา คือยุคแห่งความสำเร็จอย่างล้นหลามของวงการเพลงคันทรี่ในเชิงพาณิชย์ แต่ก็เป็นช่วงที่จิตวิญญาณดั้งเดิมของเพลงคันทรี่ ดังที่ผมได้กล่าวถึงไปแล้ว ถูกละลายลงไปมาก เพลงคันทรี่เริ่มมีความเป็นลูกกรุงมากขึ้น ดนตรีเริ่มซับซ้อนขึ้นทั้งท่วงทำนองและจังหวะ เนื้อร้องก็เริ่มมีการเล่นสำบัดสำนวนมากขึ้น เห็นได้ชัดว่าพยายามเอาใจผู้บริโภคชาวกรุงผู้ค่อนข้างจะกระเป๋าหนักกว่าชาว ทุ่ง

เป็น แบบนี้มาจนกระทั่งถึงปลายยุค 80's ก็มีความพยายามที่ทำให้เพลง คันทรี่แตกต่างจากเพลงป๊อปอีกครั้ง โดยศิลปินยุคใหม่ๆ ผู้มีแรงบันดาลใจ (ทั้งในเชิงศิลปะและเชิงพาณิชย์) อยากสร้างสรรค์ผลงานให้แตกต่าง อาศัยกระแสสังคมที่เริ่มหันมาส่งเสริมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กับวิถีการดำรงชีวิตในเมืองใหญ่ที่เริ่มแออัดต้องแกงแย่งกันมากขึ้น คนเมืองเริ่มโหยหาสังคมและสิ่งแวดล้อมแบบชนบทกันใหญ่

เรา จึงได้เห็นศิลปินคันทรี่รุ่นหลังๆ หันมาทำดนตรีที่มีกลิ่นอายของชนบทมากขึ้น ด้วยเครื่องดนตรีที่เป็นสัญญลักษณ์ของเพลงคันทรี่ดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นซอไวโอลิน กีตาร์โปร่งและกีตาร์เหล็ก แบนโจ ฯลฯ กับเนื้อร้องที่แสดงความผูกพันต่อบ้านเกิดและผู้คนรอบข้าง รวมทั้งความภาคภูมิใจกับการได้ใช้ชีวิตแบบติดดิน อะไรทำนองนี้ และเพื่อให้ครบทั้งสาระและรูปแบบ การแต่งตัวของนักร้องก็เริ่มหันกลับไปนุ่งยีนส์ ใส่รองเท้าบู๊ตและหมวกคาวบอยกันมากขึ้น เสียงร้องก็จะโชว์สำเนียงความเป็นชาวชนบทอย่างมั่นใจและจงใจ

ศิลปิน รุ่นดังกล่าวก็มี แรนดี้ ทราวิส เจ้าของเพลงดังอย่างเช่น Forever And Ever, Amen และ No Place Like Home อีกคนก็ได้แก่ จ๊อร์จ สเตรท กับเพลงฮิต เช่น One Night At The Time เคยได้ยินจากวิทยุในบ้านเราบ่อยๆเหมือนกัน สองคนนี้ว่างๆยังแอบไปเล่นหนังสไตล์คาวบอยหรือไม่ก็ลูกทุ่งตะวันตกด้วยครับ และล่าสุดขณะที่ผมเขียนอยู่นี้ จ๊อร์จ สเตรท เพิ่งจะออกเพลงใหม่มาฮิตติดอันดับ อีก1 เพลงชื่อว่า She Let Herself Go จากยุค 90's มาจนถึงปัจจุบัน ก็มีศิลปินคันทรี่รุ่นใหม่เข้ามาในวงการอีกมากมาย หลายๆคนนำลูกเล่นเฉพาะตัว หรือจากพื้นฐานดนตรีที่ตนเองได้เคยฝึกฝนมาจากแนวอื่น มาสร้างสีสันและความแปลกใหม่เพิ่มขึ้น โดยยังคงรักษาจิตวิญญาณของความเป็นคันทรี่ไว้ไม่ให้สูญหายไปไหน อย่างเช่น ก๊าร์ธ บรู้คส์ , โทบี้ คึ้ธ , ริคกี้ แวน เชลตั้น , วิ้นซ์ กิลล์ , และอื่นๆอีกหลายคน นอกจากนี้ยังมีนักร้องสาวเสียงดีอีกมากมาย อย่าง เฟธ ฮิลล์ , อลิสัน เคร้าส์ , ทริชา เยียร์วู้ด และวง เดอะ ดิ๊กซี่ ชิคส์ เป็นต้น

ตัวอย่างแนวเพลง

ดนตรีแนว : คลาสสิค-ร็อค (Classical Rock)

เป็นดนตรีที่อาจเป็นได้ทั้ง อาร์ต-ร็อค (Art Rock) ซึ่งหมายความว่า
ดนตรีร็อคที่มีการเขียนเนื้อร้องอย่างประณีต
จนถือเป็นศิลปะโดยผสมจังหวะหนักหน่วงของร็อคเข้ากับแบบแผนหรือลักษณะทางดนตรีประเภทคลาสสิก
ซึ่งอาจนำแนวประสานของดนตรีคลาสสิกมาทั้งหมด หรือแก้ไขให้มีเสียงแบบร็อค
หรือ อาจประพันธ์ขึ้นมาใหม่เลย โดยยึด
โครงสร้างหรือพื้นฐานทางคลาสสิกเลยก็ได้
โดยบางครั้งในการแสดงนักดนตรีร็อคอาจแสดงโดยมีวงออร์เคสตร้า
เล่นในแนวคลาสสิกอยู่เบื้องหลัง
แนวดนตรีแบบนี้จะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “โพรเกรสซีฟ ร็อค (Progressive Rock)”


สามารถเข้าดูคลิปเพลงได้ที่่ลิงค์ด้านใต้นี้ครับ

แนวเพลงบลูส์ (Blues Music)

ซึ่งเป็นดนตรีที่คงรูปแบบเดิม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นรูปแบบของดนตรีประเภทหนึ่ง เกิดจากสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนดำที่หลั่งไหลเ ข้าสู่สหรัฐอเมริกาเพื่อการเป็นทาส สภาพชีวิตที่คับแค้นของพวกเขาได้ถูกนำเสนอผ่านบทเพลง ด้วยการร้อง หรือสวดอ้อนวอนในทางศาสนาที่ เป็นท่วงทำนองที่น่าเศร้า อันเป็นเอกลักษณ์ของการร้องและท่วงทำนองที่เกิดจากเค รื่องดนตรีที่ไม่มี คุณภาพจากความแร้นแค้น และความรู้ในด้านทฤษฎีดนตรีที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ทำให้มีเสียงหรือคอร์ดความเพี้ยนซึ่งต่อมาก็ได้สร้าง ความแปลกหู จนเป็นลักษณะและเอกลักษณ์เฉพาะ

ลักษณะเฉพาะของเพลงบลูส์ถูกวางด้วยด้วยรากฐานจากความ เจ็บปวดแร้นแค้น ทุกข์ทรมาน ของชีวิต เนื้อเพลง และสำเนียงของบลูส์จึงแฝงความเจ็บปวดคล้ายการสะอึกสะ อื้นเวลาร้องให้ จึงใช้แสดงอารมณ์เศร้าได้ดี นอกจากนั้น เรื่องของจังหวะ (rhythm) ของบลูส์ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และเป็นแบบแผนนำไปสู่ดนตรีรูปแบบอื่นมากมาย เช่น ฟังค์,โซลฟังค์,ริทึ่ม แอนด์ บลูส์, ร็อก แอนด์ โรล เป็นต้น

ศิลปินบลูส์ที่น่าสนใจมีด้วยกันในหลายยุค เช่น BB.king ("You Know I Love You," "Woke Up This Morning," "Please Love Me,"), Muddy Waters, Buddy Guy, Stevie Ray Vaughan, Eric Clapton, John Lee Hooker,Jimi Hendrix

ที่มาของคำว่า บลูส์ ในภาษาอังกฤษ blues หมายถึง อาการโศกเศร้า ในประโยคเช่น I feel blues.


บลูส์
แนวเพลงแม่แบบ: ดนตรีโฟล์ก แอฟริกัน อเมริกัน , เวิร์กซองส์, โฟล์ก, คันทรี

แหล่งกำเนิดแนวเพลง: ปลายศตวรรษที่ 19 ทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา

เครื่องดนตรี: กีตาร์ - เปียโน - ฮาร์โมนิกา - กีตาร์เบส - กลอง - แซกโซโฟน - เสียงร้อง - ทรัมเป็ต - ทรอมโบน

กระแสความนิยม: ได้รับความนิยมในศตวรรษที่ 20 ในอเมริกา

แนวเพลงที่ได้รับอิทธิพล: แจ๊ซ, อาร์แอนด์บี, ร็อกแอนด์โรล

แนวเพลงย่อย
คลาสสิกฟีเมลบลูส์ - คันทรีบลูส์ - เดลตาบลูส์ - แจ๊ซบลูส์ - จัมป์บลูส์ - เปียโนบลูส์ - บูกี้-วูกี้

แนวเพลงผสม
บลูส์ร็อก - โซลบลูส์ - แจ๊ซบลูส์



ตัวอย๋างเพลงแนวบลูส์